Tuesday, August 26, 2014

sometimes sometime some time ต่างกันยังไง ใช้ยังไง

หลายคนอาจจะเคยเห็นคำสามคำนี้

sometimes, sometime กับ some time

แล้วอาจจะสงสัยว่าสามคำนี้มันต่างกันยังไง จริงๆแล้วคำสามคำนี้มีความหมายและการใช้ที่ต่างกัน แต่ถ้าลองดูแล้วจะเห็นว่าหลักการและความหมายไม่ได้ยากและซับซ้อนขนาดนั้น

ก่อนอื่นเรามาเริ่มด้วยคำแรกก่อนดีกว่า

sometimes นั้นอาจจะเป็นอันที่เห็นบ่อยที่สุด คำๆนี้เป็น Adverb ที่ใช้บ่งบอกถึงความถี่ของการกระทำซึ่งการใช้ของมันนั้นก็จะเหมือนกับพวกคำอย่าง often (บ่อย) หรือ  rarely (น้อยครั้งมาก) ซึ่งความหมายของ sometimes นั้นก็คือ "บางครั้ง"

ตัวอย่างประโยค

I play tennis often.

ฉันเล่นเทนนิสบ่อย

I play tennis sometimes.

ฉันเล่นเทนนิสบางครั้ง


some time นั้นจริงๆแล้วก็คือการใช้คำว่า some ข้างหน้า noun ตัวหนึ่งเท่านั้นซึ่งก็จะให้ความหมายเหมือนกับเวลาใช้ some ข้างหน้า noun ตัวอื่นอย่างเช่น some water หรือ some money

ตัวอย่างประโยค

I need some money.

ฉันต้องการเงินจำนวนหนึ่ง (โดยที่ไม่เจาะจงปริมาณ)

I need some time.

ฉันต้องการเงินจำนวนหนึ่ง (โดยไม่เจาะจงว่าต้องการเท่าไหร่)


อย่างถ้าเราเอารถเข้าไปซ่อมที่อู่แล้วถามช่างว่าต้องซ่อมนานเท่าไหร่แล้วเขาตอบมาว่า

I need some time to check the car for problems.

ความหมายก็จะเป็นประมาณว่า "ผมต้องใช้เวลาหน่อยเพื่อตรวจสอบรถและหาปัญหา (ว่าเสียตรงไหน)"


ส่วนอันสุดท้าย sometime นั้นใช้ไว้พูดถึง "ช่วงเวลาหนึ่ง" อย่างไม่ได้ระบุชัดเจนว่าเมื่อไหร่ การใช้ส่วนใหญ่นั้นจะเหมือนกับการใช้คำพวก tomorrow หรือ แทนการบอกเวลาอย่างเจาะจง อธิบายอย่างนี้อาจจะงงๆหน่อยผมว่าเรามาดูตัวอย่างประโยคกันดีกว่า น่าจะเห็นภาพได้มากขึ้น

ตัวอย่างประโยค

สมมุติเราเจอเพื่อนที่ไม่ได้เจอกันนานเราอาจจะพูดกับเขาว่า

We should have lunch together tomorrow.

เราน่าจะกินข้าวกลางวันด้วยกันพรุ่งนี้นะ

ซึ่งในประโยคนี้เราอาจจะใช้คำว่า sometime แทน tomorrow ก็ได้

We should have lunch together sometime.

เราน่าจะกินข้าวกลางวันด้วยกันสักวันนะ

ในกรณีนี้แทนที่เราจะระบุเวลาอย่างชัดเจนว่า "พรุ่งนี้" เราก็ใช้ sometime เพื่อบอกคร่าวๆว่าเราน่าจะกินข้าวด้วยกันช่วงเวลานึงนะแต่ไม่ได้บอกว่าเมื่อไหร่อย่างชัดเจน

ตัวอย่างประโยค 2

 I did my homework at 3 p.m. yesterday.

ฉันทำการบ้านของฉันตอนบ่ายสามโมงเมื่อวานนี้

I did my homework sometime yesterday.

ฉันทำการบ้านของฉันตอนช่วงเวลาหนึ่งเมื่อวาน


ตัวอย่างประโยค 3

The car was invented sometime in the 20th century.

รถยนต์ถูกคิดค้นขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งของศตวรรษที่ 20


Saturday, May 10, 2014

Most / Most Of / Almost / Almost All ต่างกันยังไง

ถ้าใช้ในแง่บ่งบอกจำนวนนั้น Most และ Most Of จะให้ความหมายประมาณว่า "ส่วนใหญ่" กับ "ส่วนใหญ่ของ" ส่วน Almost กับ Almost all นั้นจะสื่อความหมายว่า "เกือบ" กับ " เกือบทุก"

ถ้าเอาให้ระเอียดจริงๆ Almost กับ Almost all จะสื่อความหมายถึงจำนวนที่มากกว่า ยกตัวอย่างเช่น

Most students are boys

นักเรียนส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย

ในที่นี้ถ้านักเรียนแค่ 51% เป็นผู้ชายก็ถือว่า "ส่วนใหญ่เป็นผู้ชายแล้ว"

Almost all students are boys

นักเรียนเกือบทั้งหมดเป็นผู้ชาย

ในที่นี้ผู้อ่านน่าจะเข้าใจว่านักเรียน 80-90% เป็นผู้ชาย


ถ้าเราเพิ่งฝึกใช้คำเหล่านี้ใหม่ๆอาจจะยังไม่ต้องกังวลตรงจุดนี้มาก แต่ให้ใส่ใจกับการใช้ในประโยคที่ถูกต้องดีกว่า

ในการใช้นั้น Most กับ Almost all ใช้สลับสับเปลี่ยนกันได้ในเกือบทุกกรณี โดยจะใช้นำหน้า Noun ที่เราต้องการบ่งบอกจำนวน ยกตัวอย่างเช่น

Most/Almost all Cars have four wheels

รถส่วนใหญ่/เกือบทุกคันมีสี่ล้อ

Most/Almost all cats like fish.

แมวส่วนใหญ่/เกือบทุกตัวชอบปลา


แต่ถ้าเราต้องการจะพูดถึงจำนวนของกลุ่มสิ่งของที่เจาะจงนั้นเราจะต้องใช้ Most Of แทน ยกตัวอย่างเช่น

Most of my friends are men.

เพื่อนของฉันส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย

Most of those cars are red

รถเหล่านั้นส่วนใหญ่สีแดง

Most of his shoes are blue

รองเท้าส่วนใหญ่ของเขาสีฟ้า


จะมีกรณีบางกรณีที่ Most กับ Most of นั้นจะใช้ไม่ได้ นั่นก็คือถ้าจะใช้ก่อนหน้าจำนวนตัวเลขหรือคำที่บ่งบอกจำนวนอยู่แล้ว ในกรณีเหล่านี้จะต้องใช้ Almost หรือ Almost all แทน ยกตัวอย่างเช่น

Almost everybody like money.

เกือบทุกคนชอบเงิน

ในกรณีนี้ใช้ Almost ได้คำเดียว เพราะคำว่า everybody แปลว่าทุกคนอยู่แล้ว ส่วน almost แปลว่าเกือบเมื่อรวมกันจึงแปลว่า "เกือบทุกคน" แต่ถ้าใช้คำอื่นนั้นความหมายจะออกมาแปลกๆ ถ้าใช้ Most หรือ Most of จะกลายเป็น "ส่วนใหญ๋ของทุกคน" หรือถ้าใช้ Almost all ความหมายก็จะทับซ้อนกันเพราะ everybody นั้นแปลว่าทุกคนอยู่แล้ว เราไม่ต้องพูดซ้ำให้เป็น "เกือบทุก ทุกคน"

Almost 50% of people in Thailand are males

เกือบห้าสิบเปอร์เซ็นต์ของคนในประเทศไทยเป็นผู้ชาย

อีกครั้งที่คำว่า Almost เป็นคำเดียวที่จะให้ความหมายที่สมเหตุสมผล เพราะเราคงไม่พูดว่า "ส่วนใหญ่ของห้าสิบเปอร์เซ็นต์" หรือ "เกือบทั้งหมดของห้าสิบเปอร์เซ็นต์"

Almost/Almost all 5 billion people in the world are poor.

อันนี้เป็นหนึ่งประโยคที่ใช้ได้ทั้ง Almost และ Almost all แต่ความหมายจะต่างกัน

Almost 5 billion people in the world are poor.

คนเกือบห้าพันล้านคนบนโลกจน

แต่ถ้าเราพูดว่า

All 5 billion people in the world are poor.

จะแปลว่า คนทั้งห้าพันล้านคนบนโลกนี้จน

เพราะฉะนั้นถ้าเราพูดว่า

Almost all 5 billion people in the world are poor

เกือบทั้งหมดของคนห้าพันล้านคนบนโลกจน

คือคนอ่านจะได้ข้อมูลสองประเด็นคือ 1. มีคนบนโลกทั้งหมดห้าพันล้านคน 2. เกือบทุกคนบนโลกจน




Friday, May 9, 2014

Although / Even Though / In Spite Of / Despite ต่างกันอย่างไรและใช้ยังไง

Although, Even Though, In Spite Of, และ Despite ทั้งสี่คำนี้มีความหมายเหมือนกันนั่นก็คือ "แม้" หรือ "ถึงแม้" แต่ในการสร้างประโยคนั้นจะใช้ต่างกัน

เรามาดูคำว่า Although กับ Even Though กันก่อน ทั้งในความหมายและการใช้ในการสร้างประโยคนั้นสองคำนี้จะใช้เหมือนกันเลย โดยคำว่า Although กับ Even Though นั้นจะตามด้วย Subject (ผู้กระทำ) + Verb

Subject ในที่นี้อาจจะเป็น Noun หรือ Pronoun ก็ได้ ที่ต่อด้วย Verb อะไรสักอย่าง

เราลองมาดูตัวอย่างกันดีกว่าเผื่อจะเห็นภาพมากขึ้น

Although I like the bag it is too expensive for me.

ถึงแม้ฉันจะชอบกระเป๋านั้น มันก็แพงเกินไปสำหรับฉัน

จะเห็นว่า although ในกรณีนี้ตามด้วย subject (I) และ verb (like)

I went outside even though it is raining.

ฉันออกไปข้างนอกแม้ฝนจะตกอยู่

even though ในกรณีนี้ตามด้วย subject (it) และ verb (is ซึ่งเป็น verb to be)

There is still a high demand for gold although the price is very high

ในที่นี้ although ก็ตามด้วย subject (the price) และ verb (is)


ถ้าจะเอาให้ถูกต้องจริงๆอาจต้องบอกว่า Even Though นั้นมีความหมายของคำว่า "แม้" ที่รุนแรงกว่า Although แต่สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มศึกษาภาษาอังกฤษไม่ต้องกังวลตรงจุดนี้นะครับเพราะมันเป็นอะไรที่จับต้องได้ยากว่าจะต้อง "แม้" รุนแรงแค่ไหนถึงจะใช้ Even Though แทน Although ซึ่งถ้าได้ใช้ภาษาเยอะแล้วก็จะเริ่มชินไปเองว่าประโยคแบบไหนใช้คำไหน แต่ไหนๆก็ไหนๆแล้วก็ขอยกตัวอย่างของคำว่าแม้ที่ค่อนข้างรุนแรงหน่อยแล้วกัน

Even though he just got out prison he immediately robbed another bank.

ถึงแม้เขาจะเพิ่งออกมาจากคุกเขาก็ไปปล้นธนาคารทันที


ทีนี้เรามาดูการใช้ของ In Spite Of กับ Despite กันบ้าง ซึ่งทั้งสองคำมีความหมายเหมือนกันใช้สลับกันได้เลย (ความรุนแรงข้อง แม้ ก็เท่ากัน) การใช้ก็ง่ายๆ สองคำนี้จะตามด้วย Noun ที่ไม่ได้ตามด้วย verb หรือถ้าเป็น noun ที่ตามด้วย verb noun นั้นต้องไม่ใช่ subject หรือ ผู้กระทำ

อย่างเช่น

In spite of the rain Jack went outside.

ถึงแม้ฝนจะตกแจ็คก็ออกไปข้างนอก

จะสังเกตว่า In spite of ตามด้วย Noun (the rain) และนามอีกตัว (Jack) ไม่ได้ตามด้วย verb เหมือนเวลาใช้ although หรือ even though

I finish the race despite being hurt.

ฉันแข่งจบถึงแม้จะบาดเจ็บ

despite ตามด้วย noun (being เพราะ verb -ing ใช้แทน noun ได้) และต่อด้วย verb แต่ noun ในกรณีนี้ไม่ได้เป็น subject






Wednesday, May 7, 2014

Hardly กับ Hardly Ever ต่างกันอย่างไร

ทั้งคู่เป็น Adverb

Hardly นั้นจะสื่อความหมายไปในทางที่ว่า ทำน้อย

ส่วน Hardly Ever นั้นจะสื่อความหมายไปในทางที่ว่า ทำไม่บ่อย

ตัวอย่างแรก

I hardly ate any lunch today จะสื่อความหมายว่า

ฉันกินข้าวกลางวันน้อยวันนี้ หรือ ฉันแทบไม่ได้กินข้าวกลางวันเลยวันนี้

I hardly ever ate any lunch จะสื่อความหมายว่า

ฉันแทบไม่เคยกินข้าวกลางวันเลย หรือ ฉันกินข้าวกลางวันไม่บ่อย (อย่างเช่นอาทิตย์นึงอาจจะกินแค่ 1-2 วัน)

ถ้าเป็นการสอบให้จำความหมายและความแตกต่างตามด้านบนเลยแต่ถ้าเป็นในชีวิตประจำวันทั่วไปอาจมีหลายคนมากที่ใช้ hardly ever กับ hardly โดยที่มีความหมายเหมือนกันเลยในบางกรณี อย่างเช่น

I hardly ever go to school

ฉันไปโรงเรียนไม่บ่อย

I hardly go to school

ฉันไปโรงเรียนน้อย ซึ่งถ้าพูดกันจริงๆก็หมายความว่าฉันไปโรงเรียนไม่บ่อยเหมือนกัน

แต่อย่างที่บอกถ้าเป็นข้อสอบให้ยึดความหมายที่แตกต่างของสองคำนี้ตามด้านบนเลยจะได้ไม่สับสนนะครับ

ส่วนบางครั้งเราอาจจะเคยเห็นคำว่า Hardly Never (ซึ่งน่าจะเจอน้อยมากๆ) ถ้าเจอเป็นหนึ่งในตัวเลือกในข้อสอบน่าจะเดาได้เลยว่าไม่น่าจะใช่คำตอบที่ถูกต้อง เพราะ Hardly Never นั้นถ้าเอาจริงๆเป็น grammar ที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ (หลายๆคนบอกว่าผิด 100% เลยด้วยซ้ำ) เพราะว่ามันเป็น double negative

I never eat fish

ฉันไม่กินปลา

I hardly never eat fish

ฉันแทบจะไม่ ไม่กินปลา ซึ่งความหมายมันก็คือ ฉันกินปลาบ่อย หรือ ฉันกินปลาเกือบตลอด นั่นเอง (แล้วจะมาพูด ไม่ไม่ ให้มันยุ่งยากทำไมเนอะ)

Thursday, May 1, 2014

decrease กับ decrease from ต่างกันอย่างไร

ในประโยคทั่วไป decrease จะหมายความว่า "ลดลง"
ส่วน decrease from จะหมายความว่า "ลดลงจาก"

ยกตัวอย่างถ้าเราพูดว่า

My monthly salary decreased 10,000 Bath from 30,000 Bath

เงินเดือนฉันลดลง 10,000 บาท จาก 30,000 บาท (แสดงว่าเงินเดือนเราตอนนี้เท่ากับ 30,000 - 10,000 =
20,000)

แต่ถ้าเราพูดว่า

My monthly salary decreased from 30,000 Bath to 10,000 Bath

เงินเดือนฉันลดลงจาก 30,000 บาท เป็น 10,000 บาท (แสดงว่าเงินเดือนตอนนี้เท่ากับ 10,000 บาท)

ในบางครั้งเราอาจจะเจอคำว่า decrease ตามด้วย by ด้วยอย่างเช่น

My monthly salary decreased by 10,000 Bath from 30,000 Bath

ซึ่งในที่นี้ decreased by จะมีความหมายเหมือนกับ decreased เฉยๆเลยคือ

เงินเดือนฉันลดลง 10,000 บาท จาก 30,000 บาท (แสดงว่าเงินเดือนเราตอนนี้เท่ากับ 30,000 - 10,000 = 20,000)

Wednesday, April 30, 2014

increase กับ increase to ต่างกันอย่างไร

ในประโยคทั่วไป increase จะหมายความว่า "เพิ่มขึ้น" 

ส่วน increase to จะหมายความว่า "เพิ่มขึ้นเป็น"

ยกตัวอย่างถ้าเราพูดว่า

My monthly salary increased 20,000 Bath from 10,000 Bath

เงินเดือนฉันเพิ่มขึ้น 20,000 บาท จาก 10,000 บาท (แสดงว่าเงินเดือนเราตอนนี้เท่ากับ 20,000 + 10,000 = 30,000)

แต่ถ้าเราพูดว่า

My monthly salary increased to 20,000 Bath from 10,000 Bath

เงินเดือนฉันเพิ่มขึ้นเป็น 20,000 บาท จาก 10,000 บาท (แสดงว่าเงินเดือนตอนนี้เท่ากับ 20,000 บาท)


ในบางครั้งเราอาจจะเจอคำว่า increase ตามด้วย by ด้วยอย่างเช่น

My monthly salary increased by 20,000 Bath from 10,000 Bath

ซึ่งในที่นี้ increased by จะมีความหมายเหมือนกับ increased เฉยๆเลยคือ

เงินเดือนฉันเพิ่มขึ้น 20,000 บาท จาก 10,000 บาท (แสดงว่าเงินเดือนเราตอนนี้เท่ากับ 20,000 + 10,000 = 30,000)








Monday, April 7, 2014

Actually แปลว่าอะไร ใช้ยังไง

ความหมายของ Actually ในการใช้ทั่วไปที่เห็นบ่อยสุดนั้นจะสื่อความหมายประมาณว่า "จริงๆแล้ว"

เรามาดูตัวอย่างกันเถอะ


You look Chinese, are you from China?

คุณหน้าตาเหมือนคนจีนนะ คุณมาจากประเทศจีนเหรอ?

No, I am actually from Thailand. หรือ No, actually I am from Thailand.

ไม่ใช่ จริงๆแล้วฉันมาจากประเทศไทย


ในตัวอย่างแรกนี้เราใช้ actually เพื่อแก้ไขข้อมูลที่อีกฝ่ายพูดมาไม่ถูกต้อง


ตัวอย่างที่สอง


2.2 pounds is equal to 1 kilogram.

2.2 ปอนด์ เท่ากับ 1 กิโลกรัม

Actually it is 2.20462 pounds to be exact.

จริงๆแล้วต้อง 2.20462 ปอนด์ถ้าจะให้เป๊ะ


ในตัวอย่างที่สองนี้เราใช้เพื่อเสริมข้อมูลที่คนอื่นพูดให้ระเอียดหรือครบถ้วนขึ้นกว่าเดิม